ข้อมูลจังหวัดปทุมธานี

สาระน่ารู้เกี่ยวกับจังหวัดปทุมธานี
ชื่อไทย : จังหวัดปทุมธานี
ชื่ออังกฤษ :Pathum Thani
อักษรย่อ : ปท.
ภาค : ภาคกลาง
พิกัด : –
เนื้อที่ : 1,526 ตารางกิโลเมตร
จำนวนประชากร : 1,053,000 คน
จังหวัดที่อยู่ติดกัน :
ทิศเหนือ ติดกับจังหวัดพระนครศรีอยุธยาและจังหวัดสระบุรี
ทิศใต้ ติดกับกรุงเทพมหานครและจังหวัดนนทบุรี
ทิศตะวันออก ติดกับจังหวัดนครนายกและจังหวัดฉะเชิงเทรา
ทิศตะวันตก ติดกับจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดนครปฐมและจังหวัดนนทบุรี

ประวัติศาสตร์

จังหวัดปทุมธานีมีความเป็นถิ่นฐานบ้านเมืองมาแล้วไม่น้อยกว่า 300 ปี นับตั้งแต่รัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช แห่งกรุงศรีอยุธยา คือ เมื่อ พ.ศ. 2202 มังนันทมิตรได้กวาดต้อนครอบครัวมอญ เมืองเมาะตะมะ อพยพหนีภัยจากศึกพม่า เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวกรุงเทพทวาราวดีศรีอยุธยา ซึ่งสมเด็จพระนายรายณ์มหาราชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ครอบครัวมอญเหล่านั้นไปตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้านสามโคก ต่อมาในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชแห่งกรุงธนบุรี ชาวมอญได้อพยพหนีพม่าเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารอีกเป็นครั้งที่ 2 พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งบ้านเรือนที่บ้านสามโคกอีก และในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ก็ได้มีการอพยพชาวมอญครั้งใหญ่จากเมืองเมาะตะมะเข้าสู่ประเทศไทยเรียกว่า “มอญใหญ่” พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ชาวมอญบางส่วนตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้านสามโคกอีกเช่นเดียวกัน จากชุมชนขนาดเล็ก บ้านสามโคกจึงกลายเป็น เมืองสามโคก ในเวลาต่อมา

ต่อมาเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2358 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อเมืองสามโคก เป็น เมืองประทุมธานี และเมื่อ พ.ศ. 2461 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ใช้คำว่า “จังหวัด” แทน “เมือง” และให้เปลี่ยนการสะกดชื่อใหม่จาก “ประทุมธานี” เป็น “ปทุมธานี” กลายเป็น จังหวัดปทุมธานี ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2475 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ยุบจังหวัดธัญบุรีมาขึ้นกับจังหวัดปทุมธานี จังหวัดปทุมธานีจึงได้แบ่งการปกครองเป็น 7 อำเภอดังเช่นปัจจุบัน

จำนวนอำเภอของจังหวัดปทุมธานี : 7 อำเภอ
– อำเภอเมืองปทุมธานี
– อำเภอคลองหลวง
– อำเภอธัญบุรี
– อำเภอหนองเสือ
– อำเภอลาดหลุมแก้ว
– อำเภอลำลูกกา
– อำเภอสามโคก
ดอกไม้ประจำจังหวัด : ดอกบัวหลวง
ต้นไม้ประจำจังหวัด : ต้นปาริชาต
คำขวัญประจำจังหวัด : ถิ่นบัวหลวง เมืองรวงข้าว เชื้อชาวมอญ นครธรรมะ พระตำหนักรวมใจ สดใสเจ้าพระยา ก้าวหน้าอุตสาหกรรมสัญลักษณ์ประจำจังหวัด

สัญลักษณ์ประจำจังหวัด[แก้]
ต้นไม้ประจำจังหวัด : ต้นทองหลางลายหรือต้นปาริชาต (Erythrina variegata)
ดอกไม้ประจำจังหวัด : ดอกบัวหลวง (Nymphaea lotus)