ข้อมูลสถานศึกษา

ประวัติวิทยาลัยฯ

ข้อมูลพื้นฐานวิทยาลัย

สถานที่ตั้ง เลขที่ 79 หมู่ 5 ตำบลบ้านกลาง อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี 12000

เบอร์โทรศัพท์ : 02-581-6560, 02-581-6920

โทรสาร : 02-975-6426

ปรัชญา
“หมั่นฝึกฝีมือ ยึดถือวินัย ใฝ่คุณธรรม สัมพันธ์ชุมชน พัฒนาคนสู่เทคโนโลยี”

วิสัยทัศน์
“วิทยาลัยเทคนิคปทุมธานีมุ่งมั่นผลิตและพัฒนากำลังคนให้มีคุณภาพได้มาตรฐานระดับสากลตรงความต้องการของตลาดแรงงานประชาคมอาเซียน โดยน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการบริหารจัดการ”

พันธกิจ
1. จัดการศึกษาอาชีวศึกษาและฝึกอบรมนักเรียน นักศึกษา ระดับประกาศนียบัตร วิชาชีพและระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ในระบบ นอกระบบ และทวิภาคี
2. ส่งเสริมบริการวิชาชีพและจัดฝึกอบรมแก่ชุมชน
3. วิจัย สร้างนวัตกรรม
4. สร้างระบบบริหารจัดการ ส่งเสริมพัฒนาบุคลากรให้มีคุณภาพ

เป้าประสงค์
1. ผู้สำเร็จการศึกษาเป็นคนดี มีคุณธรรม มีความรู้ และมีทักษะวิชาชีพได้มาตรฐานระดับสากลเป็นที่ยอมรับของสังคม มีศักยภาพในการแข่งขันในระดับอาเซียน
2. ชุมชน ประชาชน ได้รับการส่งเสริม การพัฒนาอาชีพและฝึกอบรมอย่างต่อเนื่อง
3. วิจัย สร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาอาชีพ
4. วิทยาลัยมีการบริหารจัดการผ่านเกณฑ์ให้ได้มาตรฐานการประกันคุณภาพ ระดับแผนกวิชา เกณฑ์การประเมินภายในโดยต้นสังกัด (สอศ.) เกณฑ์การประเมินภายนอก (สมศ.) เกณฑ์การประเมินสถานศึกษาแบบอย่างการจัดการเรียนการสอน และการจัดการตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

อัตลักษณ์
ทักษะดี มีใจบริการ

เอกลักษณ์
เป็นเลิศทางวิชาชีพ

ตราประจำวิทยาลัย

Logo Pttc

พระวิษณุกรรม เป็นเทพองค์หนึ่งที่สำคัญของพราหมณ์ ซึ่งถือเป็นเทพ แห่งช่าง พระวิษณุกรรม แฝงความหมายไปด้วยปรัชญาในการดำเนินชีวิตคือ ความแม่นยำเที่ยงตรง ไม่เอนเอียงในทางปฏิบัติ ซึ่งถือเป็นจรรยาบรรณแห่งช่างทั้งหลาย

สีประจำวิทยาลัย

Collor college

สีน้ำเงิน หมายถึง ความหนักแน่น อดทนและความมั่นคงต่อการทำความดี
สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์ สะอาด ความถูกต้อง ความจริง ความช่วยเหลือ ความเรียบง่าย ความเรียบร้อย

ต้นไม้ประจำวิทยาลัย
ต้นอินทนิลเป็นไม้ยืนต้น เนื้อแข็ง ลำต้นแข็งแรงทนต่อทุกสภาพดินฟ้าอากาศ เปรียบเสมือน ความมั่นคงของชีวิต จากการศึกษา ดอกอินทนิล มีสีม่วงขาว ชมพู ออกดอกตลอดปีเปรียบเสมือนการสร้างเยาวชนที่ดีอย่างต่อเนื่อง

ประวัติวิทยาลัยเทคนิคปทุมธานี ได้ก่อตั้งขึ้นมาตามลำดับ ดังต่อไปนี้

พ.ศ. 2482 กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศตั้งโรงเรียนช่างไม้ขึ้น โดยมีสถานที่ตั้งอยู่ที่วัดเมี่ยง ตำบลบ้านงิ้ว อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี เปิดรับนักเรียนสำเร็จชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เข้าเรียนวิชาช่างไม้และช่างปูน ใช้เวลาเรียน 3 ปี

พ.ศ. 2490 ย้ายมาตั้งที่วัดโพธิ์นอก ตำบลบางปรอก อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี เนื่องมาจากที่ตั้งเดิมอยู่ห่างไกลชุมชน การเดินทางไปมาของนักเรียนไม่สะดวก

พ.ศ. 2495 ได้ย้ายจากวัดบางโพธิ์นอกข้ามฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา มาอยู่บริเวณวัดลุ่ม ซึ่งเป็นที่ตั้งปัจจุบัน และปรับปรุงหลักสูตรการเรียนใหม่ แบ่งเป็น 2 ระดับ คือ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น รับผู้สำเร็จชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เข้าเรียน 3 ปี และได้รับประกาศนียบัตรมัธยมอาชีวศึกษาตอนต้น แผนกช่างไม้ ส่วนระดับมัธยมอาชีวศึกษาตอนปลาย รับนักเรียนที่สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมอาชีวศึกษาตอนต้นแผนกช่างไม้ เรียนต่ออีก 3 ปี สำเร็จการศึกษาแล้วได้ประกาศนียบัตรมัธยมอาชีวศึกษาตอนปลาย แผนกช่างไม้

พ.ศ. 2502 กรมอาชีวศึกษาประกาศเปลี่ยนฐานะโรงเรียนช่างไม้ปทุมธานี เป็นโรงเรียนการช่างปทุมธานี ใช้หลักสูตรใหม่ของกรมอาชีวศึกษา พ.ศ. 2501

พ.ศ. 2512 กรมอาชีวศึกษาได้ประกาศรวมโรงเรียนการช่างชายปทุมธานี เข้ากับโรงเรียนการช่างสตรีปทุมธานี ซึ่งตั้งอยู่ในบริเวณเดียวกัน เรียกชื่อว่า โรงเรียนการช่างปทุมธานี

พ.ศ. 2518 เปิดสอนแผนกวิชาช่างยนต์ และเปลี่ยนมาใช้หลักสูตรอาชีวศึกษา พ.ศ. 2518

พ.ศ. 2519 เปิดสอนแผนกวิชาช่างเชื่อมโลหะ อีก 1 แผนก แล้วยุบชั้น มศ.3 แผนกต่าง ๆ ที่มีอยู่เดิมและเปลี่ยนชื่อจากโรงเรียนการช่างปทุมธานี เป็น “โรงเรียนเทคนิคปทุมธานี”

พ.ศ. 2520-2521 เปิดสอนแผนกวิชาช่างอิเล็กทรอนิกส์ แผนกวิชาช่างไฟฟ้ากำลัง และแผนกพณิชยการ

พ.ศ. 2523 กรมอาชีวศึกษาได้ประกาศยกฐานะเป็น วิทยาลัยเทคนิคปทุมธานี เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2523

พ.ศ. 2527 เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) 3 แผนกวิชา คือ
1. แผนกวิชาช่างไฟฟ้ากำลัง
2. แผนกวิชาการตลาด
3. แผนกวิชาคหกรรมทั่วไป

พ.ศ. 2529 เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) 2 แผนกวิชา คือ
1. แผนกวิชาช่างอิเล็กทรอนิกส์
2. แผนกวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ

พ.ศ. 2532 เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) 1 แผนกวิชา คือ แผนกวิชาช่างกลโรงงาน

พ.ศ. 2533 เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) 2 แผนกวิชา คือ
1. แผนกวิชาช่างยนต์
2. แผนกวิชาช่างเทคนิคการผลิต

พ.ศ. 2534 เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) 3 แผนกวิชา
1. แผนกวิชาช่างก่อสร้าง
2. แผนกวิชาช่างเทคนิคโลหะ
3. แผนกวิชาช่างเครื่องมือวัดและควบคุมในอุตสาหกรรม

พ.ศ. 2536 เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) แผนกวิชาการบัญชี

พ.ศ. 2537 -เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) แผนกวิชาคหกรรมธุรกิจ
-เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง(ปวส.) แผนกวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ(ภาคสมทบ)

พ.ศ. 2540 เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) 2 สาขาวิชา คือ
1. สาขาวิชาช่างไฟฟ้ากำลัง(ภาคสมทบ)
2. สาขาวิชาคหกรรมธุรกิจ

เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ(ปวช.) 3 สาขาวิชา คือ
1. สาขาวิชาช่างยนต์(ภาคสมทบ)
2. สาขาวิชาช่างก่อสร้าง(ภาคสมทบ)
3. สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ(ภาคสมทบ)

พ.ศ. 2545 ได้ยกเลิกการใช้หลักสูตร ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) พุทธศักราช 2538 และเริ่มใช้หลักสูตร ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) พุทธศักราช 2545

พ.ศ. 2547 เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ(ปวช.) 2 สาขาวิชา คือ
1. สาขาวิชาการโรงแรม (ระบบทวิภาคี)
2. สาขาวิชาธุรกิจค้าปลีก

พ.ศ. 2548 เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ(ปวช.) สาขาไฟฟ้ากำลัง(โปรแกรมเครื่องมือวัดและควบคุม)

พ.ศ. 2549 เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง(ปวส.) สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์

พ.ศ. 2551 เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง(ปวส.) 2 สาขาวิชา คือ
1. สาขาวิชาการจัดการทั่วไป
2. สาขางานการโรงแรม(ระบบทวิภาคี)

พ.ศ. 2556 -เปิดสอนระดับปริญาตรี สาขาวิชาเทคโนโลยีแม่พิมพ์
-เริ่มใช้หลักสูตร ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) พุทธศักราช 2556

พ.ศ. 2557 เปิดสอนระดับปริญาตรี สาขาวิชาเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์

พ.ศ. 2558 เปิดสอนในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง(ปวส.) สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ(ระบบทวิภาคี)

พ.ศ. 2560 เปิดสอนระดับปริญญาตรี (ต่อเนื่อง) สาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการโลจิสติกส์

พ.ศ. 2562 เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สาขาวิชาเมคคาทรอนิกส์และหุ่นยนต์

พ.ศ. 2563 เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง(ปวช.) 2 แผนกวิชา คือ
1.สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์
2.สาขาวิชาเมคคาทรอนิกส์