ประกาศ เรื่อง นโยบายและแนวทางป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า (Covid – 19)

ประกาศ เรื่อง นโยบายและแนวทางป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า (Covid – 19)

ประกาศวิทยาลัยเทคนิคปทุมธานี

เรื่อง  นโยบายและแนวทางป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า (Covid – 19)

เพื่อให้แนวปฏิบัติของวิทยาลัยเทคนิคปทุมธานี ในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า (Covid – 19) เกิดประโยชน์และมีผลกระทบในทางที่ดีต่อนักเรียนนักศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษา ผู้ปกครอง และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในวิทยาลัยเทคนิคปทุมธานี วิทยาลัยฯ จึงได้กำหนดมาตรการ ในการดำเนินการเพื่อความปลอดภัยจากการลดการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า (Covid – 19)  6 มาตรการ ดังนี้

  1. คัดกรองผู้ที่เข้ามาในวิทยาลัยฯทุกคนและมีการวัดอุณหภูมิร่างกาย
  2. ผู้ที่เข้ามาในวิทยาลัยฯทุกคนต้องสวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้าตลอดเวลาที่อยู่ในวิทยาลัย
  3. ข้าราชการครู บุคลากรทางการศึกษา นักเรียนนักศึกษาและผู้ที่เกี่ยวข้องในสถานศึกษา ล้างมือบ่อย ๆ ด้วยสบู่และน้ำ อย่างน้อย ๒๐ วินาที หรือใช้เจลแอลกอฮอล์ หลีกเลี่ยงการสัมผัสบริเวณจุดเสี่ยง
  4. เว้นระยะห่างระหว่างบุคคลอย่างน้อย ๑ – ๒ เมตร รวมถึงการจัดเว้นระยะห่างของสถานที่
  5. ทำความสะอาด เช็ดประตู หน้าต่าง ให้อากาศถ่ายเท ทำความสะอาดห้องเรียนและบริเวณต่าง ๆ โดยเช็ดทำความสะอาดพื้นผิวสัมผัสโต๊ะ เก้าอี้ และวัสดุ อุปกรณ์ก่อนเข้าเรียน ช่วงพักเที่ยง และหลังเลิกเรียนทุกวัน รวมถึงจัดให้มี ถังขยะมูลฝอยแบบมีฝาปิด และรวบรวมขยะออกจากห้องเรียน เพื่อนำไปกำจัดทุกวัน
  6. ลดระยะการทำกิจกรรมให้สั้นลงเท่าที่จำเป็น หรือเหลื่อมเวลาทำกิจกรรมและหลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมรวมตัวกันเป็นกลุ่ม ลดการแออัด

          นอกจากนี้ วิทยาลัยฯได้มีแนวปฏิบัติสำหรับผู้บริหาร ข้าราชการครู บุคลากรทางการศึกษา นักเรียนนักศึกษา ผู้ปกครอง ผู้จำหน่ายอาหารภายในวิทยาลัย ดังเอกสารแนบท้ายประกาศ

          จึงประกาศมาเพื่อทราบและถือปฏิบัติโดยทั่วกัน

แนวปฏิบัติสำหรับผู้บริหารวิทยาลัยเทคนิคปทุมธานี

  1. ประกาศนโยบายและแนวปฏิบัติการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ในสถานศึกษา
  2. จัดตั้งคณะทำงานดำเนินการควบคุมดูแลและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ประกอบด้วย ครู นักเรียน ผู้ปกครอง เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ท้องถิ่น ชุมชนและผู้เกี่ยวข้อง พร้อมบทบาทหน้าที่
  3. ทบทวน ปรับปรุง ซ่อมปฏิบัติตามแผนฉุกเฉินของสถานศึกษาในภาวะที่มีการระบาดของโรคติดเชื้อ (Emergency operation for infectious disease outbreaks)
  4. สื่อสารประชาสัมพันธ์การป้องกันโรคโควิด 19 เกี่ยวกับนโยบาย มาตรการ แนวปฏิบัติและการจัดการเรียน การสอนให้แก่ ครู นักเรียน ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษา ผ่านช่องทางสื่อที่เหมาะสม และติดตามข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับโรคโควิด 19 จากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้
  5. สื่อสารทำความเข้าใจเพื่อลดการรังเกียจและการตีตราทางสังคม (Social stigma) กรณีอาจพบบุคลากรในสถานศึกษา นักเรียน หรือผู้ปกครองติดเชื้อโรคโควิด 19
  6. มีมาตรการคัดกรองสุขภาพทุกคน บริเวณจุดแรกเข้าไปในสถานศึกษา (Point of entry) ให้แก่ นักเรียน ครู บุคลากร และจัดให้มีพื้นที่แยกโรค อุปกรณ์ป้องกัน เช่น หน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัย เจลแอลกอฮอล์ อย่างพอเพียงรวมถึงเพิ่มช่องทางการสื่อสารระหว่างครู นักเรียน ผู้ปกครองและเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ในกรณีที่พบนักเรียน        กลุ่มเสี่ยงหรือสงสัย
  7. จัดให้นักเรียนสามารถเข้าถึงการเรียนการสอนที่มีคุณภาพเหมาะสมตามบริบทได้อย่างต่อเนื่อง ตรวจติดตาม กรณีนักเรียนขาดเรียน ลาป่วย การปิดสถานศึกษา การจัดให้มีการเรียนทางไกล สื่อออนไลน์ การติดต่อทางโทรศัพท์ Social media  โดยติดตามเป็นรายวัน หรือสัปดาห์
  8. กรณีพบนักเรียน ครู บุคลากร หรือผู้ปกครองอยู่ในกลุ่มเสี่ยงหรือผู้ป่วยยืนยันเข้ามาในสถานศึกษา มีมาตรการแจ้งเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่ เพื่อดำเนินการสอบสวนโรคและพิจารณาปิดสถานศึกษา ตามแนวทางของกระทรวงสาธารณสุข และให้หยุดรักษาจนกว่าจะหายเป็นปกติ โดยนำหลักฐานใบรับรองแพทย์มายืนยัน เพื่อกลับเข้าเรียน/ทำงานตามปกติ โดยไม่ถือว่าขาดเรียนหรือขาดงาน
  9. ควบคุม กำกับ ติดตาม และตรวจสอบการดำเนินงานตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19  ในสถานศึกษาอย่างเคร่งครัดและต่อเนื่อง

แนวปฏิบัติสำหรับครู และผู้ดูแลนักเรียน วิทยาลัยเทคนิคปทุมธานี

  1. ติดตามข้อมูลข่าวสาร สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 พื้นที่เสี่ยง คำแนะนำการป้องกันตนเองและ   ลดความเสี่ยงจากการแพร่กระจายของเชื้อโรคโควิด 19 จากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้
  2. สังเกตอาการป่วยตนเอง หากมีอาการไข้ ไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ หายใจลำบาก เหนื่อยหอบ ไม่ได้กลิ่น ไม่รู้รส ให้หยุดปฏิบัติงาน และรีบไปพบแพทย์ทันที กรณีมีคนในครอบครัวป่วยด้วยโรคโควิด ๑๙ หรือกลับจากพื้นที่เสี่ยงและ     อยู่ในช่วงกักตัว ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขอย่างเคร่งครัด
  3. แจ้งผู้ปกครองและนักเรียน ให้นำของใช้ส่วนตัวและอุปกรณ์ป้องกันมาใช้เป็นของตนเอง เช่น แก้วน้ำ หน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัย
  4. สื่อสารความรู้แนะนำหรือจัดหาสื่อประชาสัมพันธ์ ในการป้องกันและลดความเสี่ยงจากการแพร่กระจายโรคโควิด ๑๙ให้แก่นักเรียน เช่น สอนวิธีการล้างมือที่ถูกต้อง การสวมหน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัย คำแนะนำการปฏิบัติตัว การเว้นระยะห่างทางสังคม การทำความสะอาด หลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมร่วมกันจำนวนมากเพื่อลดความแออัด
  5. ทำความสะอาดสื่อการเรียนการสอนหรืออุปกรณ์ของใช้ร่วมที่เป็นจุดสัมผัสเสี่ยง ทุกครั้งหลังใช้งาน
  6. ควบคุมดูแลการจัดที่นั่งในห้องเรียน ระหว่างโต๊ะเรียน ที่นั่งในโรงอาหาร การจัดเว้นระยะห่าง ระหว่างบุคคลอย่างน้อย ๑ – ๒ เมตร หรือเหลื่อมเวลาพักกินอาหารกลางวัน และกำกับให้นักเรียน สวมหน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัยตลอดเวลาและล้างมือบ่อย ๆ
  7. ตรวจสอบ กำกับ ติดตามการมาเรียนของนักเรียนขาดเรียน ถูกกักตัว หรืออยู่ในกลุ่มเสี่ยงต่อการติดโรคโควิด ๑๙ และรายงานต่อผู้บริหาร
  8. ทำการตรวจคัดกรองสุขภาพทุกคนที่เข้ามาในสถานศึกษาในตอนเช้า ทั้งนักเรียน ครู บุคลากร และผู้มาติดต่อ โดยใช้เครื่องวัดอุณหภูมิร่างกาย พร้อมสังเกตอาการและสอบถามอาการของ ระบบทางเดินหายใจ เช่น ไข้ ไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ หายใจลำบาก เหนื่อยหอบ ไม่ได้กลิ่น ไม่รู้รส โดยติดสัญลักษณ์ สติ๊กเกอร์หรือตราปั๊มแสดงให้เห็นชัดเจนว่า    ผ่านการคัดกรองแล้ว         
    กรณีพบนักเรียนหรือผู้มีอาการมีไข้ อุณหภูมิร่างกายตั้งแต่ 37.5 องศาเซลเซียสขึ้นไป ร่วมกับอาการระบบทางเดินหายใจอย่างใดอย่างหนึ่ง จัดให้อยู่ในพื้นที่แยกส่วน ให้รีบแจ้งผู้ปกครองมารับและพาไปพบแพทย์     ให้หยุดพักที่บ้านจนกว่าจะหายเป็นปกติ พร้อมแจ้งเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเพื่อประเมินสถานการณ์และดำเนินการสอบสวนโรค และแจ้งผู้บริหารเพื่อพิจารณาการปิดสถานศึกษาตามมาตรการแนวทางของกระทรวงสาธารณสุข           
    บันทึกผลการคัดกรองและส่งต่อประวัติการป่วย ตามแบบบันทึกการตรวจสุขภาพ         
    จัดอุปกรณ์การล้างมือ พร้อมใช้งานอย่างเพียงพอ เช่น เจลแอลกอฮอล์วางไว้บริเวณทางเข้า สบู่ล้างมือบริเวณอ่างล้างมือ
  9. กรณีครูสังเกตพบนักเรียนที่มีปัญหาพฤติกรรม เช่น เด็กสมาธิสั้น เด็กที่มีความวิตกกังวลสูง อาจมีพฤติกรรมดูดนิ้วหรือกัดเล็บ ครูสามารถติดตามอาการและนำเข้าข้อมูลที่สังเกตพบในฐานข้อมูล ด้านพฤติกรรม อารมณ์ สังคมของนักเรียน (หรือฐานข้อมูล HERO ) เพื่อให้เกิดการดูแลช่วยเหลือร่วมกับผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตต่อไป
  10. วิธีการปรับพฤติกรรมสำหรับนักเรียนที่ไม่ร่วมมือปฏิบัติตามมาตรการที่ครูกำหนด ด้วยการแก้ปัญหาการเรียนรู้ใหม่ให้ถูกต้อง นั่นคือ “สร้างพฤติกรรมที่พึงประสงค์” หรือ “ลดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์”
  11. ครูสื่อสารความรู้เกี่ยวกับความเครียด ว่าเป็นปฏิกิริยาปกติที่เกิดขึ้นได้ในภาวะวิกฤติที่มีการแพร่ระบาดของโรค      โควิด๑๙ และนำกระบวนการการจัดการความเครียด การฝึกสติให้กลมกลืนและเหมาะสมกับนักเรียนแต่ละวัย ร่วมกัน การฝึกทักษะชีวิตที่เสริมสร้างความเข้มแข็งทางใจ (Resilience) ให้กับนักเรียน ได้แก่ ทักษะชีวิตด้านอารมณ์ สังคม และความคิด เป็นต้น
  12. ครูสังเกตอารมณ์ความเครียดของตัวท่านเอง เนื่องจากภาระหน้าที่การดูแลนักเรียนจำนวนมาก และกำกับให้ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันการติดโรคโควิด 19 เป็นบทบาทสำคัญ อาจจะสร้างความเครียดวิตกกังวล ทั้งจากการเฝ้าระวังนักเรียน และการป้องกันตัวท่านเองจากการสัมผัสกับเชื้อโรค ดังนั้น เมื่อครูมีความเครียด จากสาเหตุต่าง ๆ            มีข้อเสนอแนะ ดังนี้
    1) ความสับสนมาตรการของสถานศึกษาที่ไม่กระจ่างชัดเจน แนะนำให้สอบถามกับผู้บริหาร หรือเพื่อนร่วมงาน เพื่อให้เข้าใจบทบาทหน้าที่และข้อปฏิบัติที่ตรงกัน
    2) ความวิตกกังวล กลัวการติดเชื้อในสถานศึกษา พูดคุยสื่อสารถึงความไม่สบายใจ ร้องขอสิ่งจำเป็นสำหรับการเรียนการสอนที่เพียงพอต่อการป้องกันการติดโรคโควิด 19 เช่น สถานที่ สื่อการสอน กระบวนการเรียนรู้ การส่งงานหรือตรวจการบ้าน เป็นต้น หากท่านเป็นกลุ่มเสี่ยง มีโรคประจำตัวสามารถเข้าสู่แนวทางดูแลบุคลากรของสถานศึกษา
    3) จัดให้มีการจัดการความเครียด การฝึกสติ เป็นกิจวัตรก่อนเริ่มการเรียนการสอนเพื่อลดความวิตกกังวลต่อสถานการณ์ที่ตึงเครียดนี้

แนวทางปฏิบัติสำหรับนักเรียน

  1. ติดตามข้อมูลข่าวสาร สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19  พื้นที่เสี่ยง คำแนะนำการป้องกันตนเอง       และลดความเสี่ยงจากการแพร่กระจายของเชื้อโรคโควิด 19 จากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้
  2. สังเกตอาการป่วยตนเอง หากมีอาการไข้ ไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ หายใจลำบาก เหนื่อยหอบ ไม่ได้กลิ่น ไม่รู้รส ให้รีบแจ้งครูหรือผู้ปกครองให้พาไปพบแพทย์ กรณีมีคนในครอบครัวป่วยด้วยโรคโควิด 19 หรือกลับจากพื้นที่เสี่ยงและ      อยู่ในช่วงกักตัว ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขอย่างเคร่งครัด
  3. มีและใช้ของใช้ส่วนตัว ไม่ใช้ร่วมกับผู้อื่น เช่น ช้อน ส้อม แก้วน้ำ แปรงสีฟัน ยาสีฟัน ผ้าเช็ดหน้า หน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัย และทำความสะอาดหรือเก็บให้เรียบร้อย ทุกครั้งหลังใช้งาน
  4. กรณีนักเรียนดื่มน้ำบรรจุขวด ควรแยกเฉพาะตนเอง และทำเครื่องหมายหรือสัญลักษณ์เฉพาะไม่ให้ปะปนกับของ  คนอื่น
  5. หมั่นล้างมือบ่อย ๆ ด้วยวิธีล้างมือ 7 ขั้นตอน อย่างน้อย 20 วินาที ก่อนกินอาหาร หลังใช้ส้วม หลีกเลี่ยงใช้มือสัมผัสใบหน้า ตา ปาก จมูก โดยไม่จำเป็น รวมถึงสร้างสุขนิสัยที่ดี หลังเล่นกับเพื่อน เมื่อกลับมาถึงบ้าน ต้องรีบอาบน้ำ  สระผม และเปลี่ยนเสื้อผ้าใหม่ทันที
  6. เว้นระยะห่างระหว่างบุคคล อย่างน้อย 1 – 2 เมตร ในการทำกิจกรรมระหว่างเรียน ช่วงพัก และหลังเลิกเรียน เช่น นั่งกินอาหาร เล่นกับเพื่อน เข้าแถวต่อคิว ระหว่างเดินทางอยู่บนรถ
  7. สวมหน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัยตลอดเวลาที่อยู่ในสถานศึกษา
  8. หลีกเลี่ยงการไปในสถานที่ที่แออัดหรือแหล่งชุมชนที่เสี่ยงต่อการติดโรคโควิค 19
  9. ดูแลสุขภาพให้แข็งแรง ด้วยการกินอาหารปรุงสุก ร้อน สะอาด อาหารครบ 5 หมู่ และผัก ผลไม้ 5 สี เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ควรเตรียมอาหารเช้าจากบ้าน หรือให้ผู้ปกครองจัดเตรียมอาหารกล่อง (Box set) กินที่วิทยาลัยแทน รวมถึงออกกำลังกาย อย่างน้อย 60 นาที ทุกวัน และนอนหลับอย่างเพียงพอ 9 – 11 ชั่วโมงต่อวัน
  10. กรณีนักเรียนขาดเรียนหรือถูกกักตัว ควรติดตามความคืบหน้าการเรียนอย่างสม่ำเสมอ ปรึกษาครู เช่น การเรียน  การสอน สื่อออนไลน์ อ่านหนังสือ ทบทวนบทเรียน และทำแบบฝึกหัดที่บ้าน
  11. หลีกเลี่ยงการล้อเลียนความผิดปกติหรืออาการไม่สบายของเพื่อน เนื่องจากอาจจะก่อให้เกิดความหวาดกลัว        มากเกินไปต่อการติดต่อโรคโควิด 19 และเกิดการแบ่งแยกกีดกันในหมู่นักเรียน

แนวทางปฏิบัติสำหรับผู้ปกครอง

  1. ติดตามข้อมูล ข่าวสารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 พื้นที่เสี่ยง คำแนะนำการป้องกันตนเองและ   ลดความเสี่ยงจากการแพร่กระจายของโรค จากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้
  2. สังเกตอาการป่วยของบุตรหลาน หากมีอาการไข้ ไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ หายใจลำบาก เหนื่อยหอบ ไม่ได้กลิ่น ไม่รู้รส  ให้รีบพาไปพบแพทย์ ควรแยกเด็กไม่ให้ไปเล่นกับคนอื่น ให้พักผ่อนอยู่ที่บ้านจนกว่าจะหายเป็นปกติ กรณีมีคน       ในครอบครัวป่วยด้วยโรคโควิด 19 หรือกลับจากพื้นที่เสี่ยง อยู่ในช่วงกักตัวให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขอย่างเคร่งครัด
  3. จัดหาของใช้ส่วนตัวให้บุตรหลานอย่างเพียงพอในแต่ละวัน ทำความสะอาดทุกวัน เช่น หน้ากากผ้า ช้อน ส้อม แก้วน้ำ แปรงสีฟัน ยาสีฟัน ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว
  4. จัดหาสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์ และกำกับดูแลบุตรหลานให้ล้างมือบ่อย ๆ ก่อนกินอาหาร หลังใช้ส้วม หลีกเลี่ยงการใช้มือสัมผัสใบหน้า ตา ปาก จมูก โดยไม่จำเป็น และสร้างสุขนิสัยที่ดีหลังเล่นกับเพื่อนและเมื่อกลับมาถึงบ้าน         ควรอาบน้ำ สระผม และเปลี่ยนชุดเสื้อผ้าใหม่ทันที
  5. ดูแลสุขภาพให้แข็งแรง ด้วยการกินอาหารปรุงสุก ร้อน สะอาด อาหารครบ 5 หมู่ และผัก ผลไม้ 5 สี เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ควรเตรียมอาหารเช้าจากบ้าน หรือให้ผู้ปกครองจัดเตรียมอาหารกล่อง (Box set) กินที่โรงเรียนแทน รวมถึงออกกำลังกาย อย่างน้อย 60 นาที ทุกวัน และนอนหลับอย่างเพียงพอ 9 – 11 ชั่วโมงต่อวัน
  6. หลีกเลี่ยงการพาบุตรหลานไปในสถานที่เสี่ยงต่อการติดโรคโควิด 19 สถานที่แออัดที่มีการรวมกันของคนจำนวนมาก หากจำเป็นต้องสวมหน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัย ล้างมือบ่อย ๆ 7 ขั้นตอน ด้วยสบู่และน้ำ นาน 20 วินาที     (ให้นักเรียนร้องเพลงแฮปปี้เบิร์ธเดย์ 2 ครั้ง พร้อมกับล้างมือ) หรือใช้เจลแอลกอฮอล์
  7. กรณีการจัดการเรียนการสอนทางไกล ออนไลน์ ผู้ปกครองควรให้ความร่วมมือกับครูในการดูแลจัดการเรียนการสอนแก่นักเรียน เช่น การส่งการบ้าน การร่วมทำกิจกรรม เป็นต้น

แนวทางปฏิบัติสำหรับแม่ครัว ผู้จำหน่ายอาหาร และผู้ปฏิบัติงานทำความสะอาด

  1. ติดตามข้อมูลข่าวสารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 พื้นที่เสี่ยง คำแนะนำการป้องกันตนเองและ    ลดความเสี่ยงจากการแพร่กระจายของโรค จากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้
  2. สังเกตอาการป่วยตนเอง หากมีอาการไข้ ไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ หายใจลำบาก เหนื่อยหอบ ไม่ได้กลิ่น ไม่รู้รส ให้หยุดปฏิบัติงานและรีบไปพบแพทย์ทันที กรณีมีคนในครอบครัวป่วยด้วยโรคโควิด 19 หรือกลับจากพื้นที่เสี่ยงและ       อยู่ในช่วงกักตัว ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขอย่างเคร่งครัด
  3. ล้างมือบ่อย ๆ ด้วยสบู่และน้ำ ก่อน – หลังปรุงและประกอบอาหาร ขณะจำหน่ายอาหาร หลังสัมผัสสิ่งสกปรก     เมื่อจับเหรียญหรือธนบัตร หลังใช้ส้วม ควรล้างมือด้วยสบู่และน้ำหรือใช้เจลแอลกอฮอล์ และหลีกเลี่ยงการใช้มือสัมผัสใบหน้า ตา ปาก จมูก โดยไม่จำเป็น
  4. ขณะปฏิบัติงานของผู้สัมผัสอาหาร ต้องสวมหมวกคลุมผม ผ้ากันเปื้อน ถุงมือ สวมหน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัย และปฏิบัติตนตามสุขอนามัยส่วนบุคคลที่ถูกต้อง
  5. ปกปิดอาหาร ใส่ถุงมือและใช้ที่คีบหยิบจับอาหาร ห้ามใช้มือหยิบจับอาหารพร้อมกินโดยตรง และจัดให้แยกกิน   ส่วนกรณีร้านจำหน่ายอาหารสำเร็จรูปพร้อมกิน ไม่ควรใช้มือสัมผัสลงไปในถึงบรรจุอาหารก่อนตักอาหาร
  6. จัดเตรียมเมนูอาหารให้ครบ 5 หมู่และผักผลไม้ 5 สี เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ปรุงสุกใหม่ ให้นักเรียนกิน ภายในเวลา 2 ชั่วโมง หากเกินเวลาดังกล่าว ให้นำอาหารไปอุ่นจนเดือด แล้วนำมาเสิร์ฟใหม่ กรณีที่ไม่สามารถจัดเหลื่อมเวลาสำหรับเด็กในมื้อกลางวัน ให้เตรียมอาหารกล่องแทนและรับประทานที่โต๊ะเรียน
  7. จัดเตรียมกระดาษสำหรับสั่งรายการอาหาร หรือช่องทางสื่อสารอื่น ๆ เพื่อลดการพูดคุยและสัมผัส
  8. ผู้ปฏิบัติงานทำความสะอาด ผู้ปฏิบัติงานเก็บขนขยะ ต้องใส่อุปกรณ์ป้องกันตนเอง เช่น สวมหน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัย สวมถุงมือยาง ผ้ายางกันเปื้อน รองเท้าพื้นยางหุ้มแข็ง
  9. การเก็บขยะ ควรใช้ปากคีบด้ามยาวเก็บขยะ ใส่ถุงขยะปิดปากถุงให้มิดชิด และนำไปรวบรวมไว้ที่พักขยะ
  10. เมื่อปฏิบัติงานเสร็จทุกครั้ง ต้องล้างมือบ่อย ๆ และเมื่อกลับมาถึงบ้าน ควรรีบอาบน้ำ สระผม เปลี่ยนเสื้อผ้าใหม่ทันที